home

กัมพูชา (เม.ย.-มิ.ย. 2562)

มิถุนายน 12, 2019
กัมพูชา (เม.ย.-มิ.ย. 2562)

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นจำนวนมากในกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission :EC) ซึ่งเป็นองค์กรในการบริหารงานของสหภาพยุโรป ได้เริ่มกระบวนการพิจารณายกเลิกโครงการที่สหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าและยกเลิกการกำหนดโควตานำเข้าให้แก่สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หรือที่เรียกว่า “โครงการ Everything but Arms”

โดยกัมพูชาก็เป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว กัมพูชาจึงสามารถส่งออกสินค้าทุกรายการ (ยกเว้นสินค้าที่เป็นอาวุธ) ไปยังสหภาพยุโรปได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าภาษีนำเข้าเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยในปีแรกกัมพูชาจะถูกกำหนดอัตราภาษีอยู่ที่ 175 ยูโรต่อตัน ปรับลดลงเหลือ 150 ยูโรในปีที่สอง และ 125 ยูโรในปีที่สาม

จากการพิจารณาข้างต้นของคณะกรรมาธิการยุโรป ส่งผลให้รัฐบาลกัมพูชาออกมาแสงดความไม่พอใจ พร้อมระบุว่า ทางรัฐบาลกัมพูชามีความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้านการละเมิดสิทธิมนุษนชนที่เกิดขึ้นภายในประเทศให้มีความชัดเจนมากขึ้นตามข้อตกลงในอนุสัญญาของสหประชาชาติ และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) แต่ทางคณะกรรมาธิการยุโรปกลับไม่ให้ความสนใจในส่วนนี้

เช่นเดียวกับสหพันธ์ข้าวกัมพูชาที่ออกมากล่าวว่า การพิจารณาดำเนินการยกเลิกไม่ให้กัมพูชาส่งสินค้าปลอดภาษีไปยังสหภาพยุโรปซึ่งถือได้ว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของกัมพูชา รวมถึงความเป็นอยู่ของประชาชนภายในประเทศ

ด้านคณะกรรมาธิการยุโรปออกมาระบุว่า ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สหภาพรุโรปเห็นความพยายามของรัฐบาลกัมพูชาในการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศในเชิงบวกมากขึ้น แต่แนวทางทั้งหมดก็ยังไม่มีการจัดการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป กัมพูชาก็อาจจะถูกพิจารณายกเลิกสิทธิตามโครงการ Everything but Arms

ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า การพิจารณาตัดสิทธิไม่ให้กัมพูชาส่งสินค้าปลอดภาษีไปยังสหภาพยุโรปนั้น เป็นเพราะสหภาพยุโรปต้องการต้องการปกป้องผู้ผลิตข้าวของสหภาพยุโรปเอง โดยเฉพาะอิตาลีซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่สหภาพยุโรปมีมาตรการจะขึ้นอัตราภาษีข้าวที่นำเข้าจากกัมพูชา ทำให้การส่งออกข้าวของกัมพูชาที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปลดน้อยลง และเปลี่ยนเป้าหมายไปยังตลาดประเทศจีนมากขึ้น ชณะเดียวกัน สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ออกมากล่าวว่า หากสหภาพยุโรปยกเลิกการให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่กัมพูชา ด้วยเพราะความไม่พอใจแนวทางการจัดการปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน และความเป็นประชาธิปไตยภายในประเทศ จีนก็จะตกลงเข้าเป็นฝ่ายให้การช่วยเหลือกัมพูชาต่อไป

6

แม้ว่ารัฐบาลกัมพูชาจะออกตัวว่าได้พยายามแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ศาลจังหวัดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชาได้ออกหมายเรียกสมาชิกระดับภูมิภาคของพรรคกู้ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party: CNRP) จำนวน 24 คน มาสอบปากคำในข้อหาที่สมาชิกพรรคเหล่านี้ในการสมคบคิดกับสหรัฐฯ ที่จะโค่นล้มรัฐบาลของสมเด็จฮุน เซน ด้วยการให้ความเห็นว่าการจัดการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในกัมพูชาไม่เสรีและไม่ยุติธรรม ทั้งที่พรรคกู้ชาติกัมพูชาถูกคำสั่งยุบพรรคไปแล้ว

นอกจากคำสั่งยุบพรรค ศาลยังกำหนดห้ามสมาชิกอาวุโสของพรรคกู้ชาติกัมพูชา 118 คน ยุ่งเกี่ยวในกิจกรรมทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี รวมถึงออกหมายจับสมาชิกระดับสูงของพรรคกู้ชาติกัมพูชาที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศจำนวน 8 คน จากข้อหาสมคบคิดที่จะก่อกบฏและปลุกระดมให้กระทำความผิดทางอาญา ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2561 ไล่เลี่ยกับช่วงที่รัฐบาลดำเนินการปราบปรามกลุ่มที่มีความเห็นต่างทางการเมือง ทั้งกลุ่มสื่อมวลชนและกลุ่มเอ็นจีโอ

ก่อนหน้านี้ นายสม รังสี ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคและอดีตหัวหน้าพรรคกู้ชาติกัมพูชา ก็ได้หลบหนีออกนอกประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตัดสินจำคุกในช่วงปลายปี 2558 หลังจากถูกตัดสินความผิดในหลายข้อหา ส่วนนายแกม โสกา ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกู้ชาติกัมพูชา ถูกจับกุมตัวในบ้านพักจากข้อหากบฏในเดือนกันยายน 2560

7

ประเด็นด้านการเมืองและความมั่นคง เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา กล่าวยืนยันว่า กัมพูชาไม่ได้อนุญาตให้กองทัพของประเทศจีนเข้ามาตั้งฐานทัพภายในประเทศ หลังจากมีกระแสข่าวที่ว่ากองทัพจีนให้รัฐบาลกัมพูชาดำเนินการอนุมัติให้กองทัพจีนเข้าสร้างฐานทัพเรื่องทางตะวันออกเฉียงใต้ของกัมพูชามาตั้งแต่ปี 2560

นอกจากนี้ สมเด็จฮุน เซน ยังอ้างข้อกำหนดตามรัฐธรรมนูญของกัมพูชาที่ระบุว่า ห้ามไม่ให้ทหารต่างชาติ หรือฐานทัพทหารของต่างชาติเข้ามาประจำการหรือตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ไมว่าจะเป็นกองทัพเรือ กองทัพบก หรือกองทัพอากาศ

ที่ผ่านมา จีนและกัมพูชามีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน จีนเป็นผู้ให้การช่วยเหลือด้านการเงินแก่กัมพูชาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเงินทุนที่นำมาใช้ในการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนโครงการพัฒนาต่างๆ ภายในกัมพูชา เป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

8

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา สมเด็จฮุน เซน กล่าวถึงแนวทางในการรักษาคุณภาพและระเบียบวินัยของกองทัพด้วยการจำกัดจำนวนนายพลระดับ 4 ดาว ให้เป็นยศสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกัมพูชา นอกเหนือจากนี้จะเป็นการแต่งตั้งยศนายพลระดับ 2 ดาวเท่านั้น ได้แก่ ผู้บัญชาการทหารระดับภูมิภาค ส่วนยศนายพลระดับ 3 ดาว จะจำกัดเฉพาะผู้บัญชาการทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ สำหรับสมเด็จฮุน เซน จะเป็นเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ได้รับยศจอมพล หรือนายพลระดับ 5 ดาว

Leave A Response

คลังข้อมูล

พบกับเราที่ Facebook

Tweets ล่าสุด

No tweets found.

แผนที่อาเซียน