home

สิงคโปร์ (ต.ค. – ธ.ค. 61)

มกราคม 1, 2019
สิงคโปร์ (ต.ค. – ธ.ค. 61)

สำหรับความเคลื่อนไหวในสิงคโปร์ช่วง 3 เดือนนี้ที่น่าสนใจคือปัญหาเรื่องสุขภาพ ความมั่นคงทางอาหารของสิงคโปร์ ความเคลื่อนไหวเพื่อการอนุรักษ์งาช้างในประเทศและแนวโน้มการจ้างงานของสิงคโปร์

เริ่มที่สถานการณ์ด้านสุขภาพของสิงคโปร์ สิงคโปร์อาจกลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ห้ามขายเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ถือเป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังพิจารณาเพื่อลดการบริโภคน้ำตาลของคนในสิงคโปร์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคอ้วน และโรคเบาหวาน

wc-sugar-0512

กระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพกำลังหาข้อเสนอแนะในมาตรการ 4 ข้อเพื่อลดการบริโภคน้ำตาลจากเครื่องดื่ม ซึ่งรวมถึงเครื่องดื่มผงแบบ 3 in 1 เครื่องดื่มชูกำลัง โยเกิร์ตพร้อมดื่ม น้ำผลไม้และน้ำอัดลม ซึ่งเครื่องดื่มดังกล่าวมีปริมาณน้ำตาลมากกว่า 12 ช้อนชาซึ่งเป็นปริมาณเฉลี่ยที่คนสิงคโปร์บริโภคในแต่ละวัน เครื่องดื่มรสหวาน 1 ใน 4 มีปริมาณน้ำตาลเฉลี่ย 5.5 ช้อนชาหรือมากกว่าต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

สำหรับข้อเสนอทั้ง 4 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังขับเคลื่อนคือ 1) ห้ามเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงก่อนการบรรจุเพื่อจำหน่ายทั้งหมด 2) เก็บภาษีเป็นรายการเฉพาะ หรือจัดให้มีการเก็บภาษีเพิ่มอีกชั้นสำหรับเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง 3) การติดฉลากปริมาณน้ำตาลและรายละเอียดทางโภชนาการด้านหน้าสินค้า 4) ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงในสื่อทุกชนิด รวมถึงโซเชียลมีเดียและรถโดยสาร

ซึ่งก่อนหน้านี้สิงคโปร์ไม่อนุญาตให้มีการจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลปานกลางถึงสูงในโรงเรียนและในสถานที่ราชการก่อนแล้ว บริษัทหลายแห่งยังงดเว้นการโฆษณาเครื่องดื่มน้ำตาลสูงให้กับเด็ก เช่น การไม่โฆษณาในช่วงเวลาที่เด็ก ๆ มีแนวโน้มจะดูโทรทัศน์ นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์ Healthier Choice เพื่อระบุเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ โดยมาตรการเหล่านี้ดำเนินการโดยความสมัครใจ การขอความเห็นจากสาธารณะในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดปฏิกิริยาของผู้คนในการผลักดันข้อเสนอเหล่านี้ต่อไป กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าการบริโภคเครื่องดื่มขนาด 250 มล.ที่มีน้ำตาลทุกวันเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 18 – 26 ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาต่าง ๆ ดังนั้นจึงไม่ได้มีการระบุปริมาณน้ำตาลอย่างชัดเจน

องค์การอนามัยโลก (WHO) สนับสนุนให้คนบริโภคน้ำตาลน้อยให้ที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะในทางโภชนาการเราไม่จำเป็นต้องเพิ่มน้ำตาลในอาหาร การบริโภคน้ำตาลให้น้อยกว่า 25 กรัมหรือ 5 ช้อนชาในสิงคโปร์ ( 6 ช้อนชาตามเกณฑ์ของ WHO) ต่อวันจะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องว่าการห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ก็เป็นมาตรการที่น่าพึงพอใจทางการเมืองน้อยที่สุด

ศาสตราจารย์เอริคฟิน – เคลสไตน์แห่งวิทยาลัยแพทย์ Duke-NUS เห็นพ้องกันว่าน้ำผลไม้สำเร็จรูปที่วางจำหน่าย แม้แต่ชนิดที่ไม่มีน้ำตาลเพิ่มก็ไม่ควรได้รับการยกเว้น ศาสตราจารย์ฟินเกลสไตน์กล่าวว่าการเก็บภาษีจำเป็นต้องเป็นมาตรการที่วางไว้กว้างๆ ฉะนั้นผู้บริโภคอาจทดแทนด้วยการบริโภคเครื่องดื่มแคลอรี่อีกชนิดแทน เช่นเดียวกับนางสาวกลาดิส หว่อง นักโภชนาการอาวุโสประจำโรงพยาบาล Khoo Teck Puat ได้กล่าวว่ามาตรการที่กระทรวงเสนอนั้นยังไม่เพียงพอ จะต้องมีมาตรการในการเก็บภาษีที่ยุติธรรมสำหรับเครื่องดื่มที่ปรุงสดด้วยไม่ใช่เฉพาะเครื่องดื่มที่บรรจุขวดหรือกล่องไว้พร้อมจำหน่าย ในส่วนของศาสตราจารย์ร็อบแวนแดมนักระบาดวิทยาแห่งวิทยาลัยสาธารณสุข Saw Swee Hock กล่าวว่าปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มเพิ่มแคลอรี่แต่กลับไม่ทำให้คนรู้สึกอิ่ม ซึ่งสิ่งนี้ทำให้น้ำตาลในเครื่องดื่มแย่กว่าน้ำตาลในอาหาร โดยเขาเสริมว่าการศึกษาในเม็กซิโกคาดว่าการลดน้ำตาลลงร้อยละ 20 จะช่วยลดความอ้วนลงได้ร้อยละ 12.5 ทั้งนี้โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคเบาหวาน โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองและมะเร็งบางชนิด

ในส่วนของสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ผู้สังเกตการณ์อาหารของสิงคโปร์ตอบโต้ต่อคำเตือนจากมาเลเซียว่าอาจหยุดหรือจำกัดการส่งออกไข่โดยกล่าวว่าสิงคโปร์มีแผนที่จะรับไข่จากที่อื่นหากจำเป็น หลังจากที่นายไซฟุดดิน นาสุเทียน อิสมาอิล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและบริโภคในประเทศของมาเลเซีย กล่าวว่ามาเลเซียกำลังพิจารณาจำกัด หรือระงับการส่งออกไข่เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีอุปทานเพียงพอสำหรับตลาดภายในประเทศ อย่างไรก็ตามหน่วยงาน Agri-food and Veterinary Authority (AVA) ของสิงคโปร์กล่าวว่าอุปทานไข่ของประเทศในขณะนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบ โดยโฆษกของหน่วยงานกล่าวเพิ่มเติมว่าบริษัทผู้นำเข้าสิงคโปร์ยังคงได้รับไข่จากประเทศมาเลเซียอยู่

yq-myegg-13122018_2x

อย่างไรก็ตามเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การกระจายอาหารโดยรวมของเรา เรามีแหล่งที่มาที่หลากหลายสำหรับไข่ในประเทศ ทั้งแหล่งนำเข้า และฟาร์มในท้องถิ่นของเรา จากข้อมูลของ AVA ระบุว่าไข่ไก่ของสิงคโปร์ประมาณร้อยละ 73 นำเข้ามาจากมาเลเซีย ไข่ในสิงคโปร์น้อยกว่าร้อยละ 1 นำเข้าจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองในประเทศไทย ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

ก่อนหน้านี้สิงคโปร์เคยเผชิญกับการขาดแคลนไข่มาแล้วในปี 2547 เมื่อเกิดไข้หวัดนก (H5N1) ระบาดในฟาร์มสัตว์ปีกในรัฐกลันตันส่งผลให้ AVA ห้ามการใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีกทั้งหมดจากมาเลเซีย แม้ว่าจะมีแหล่งทางเลือกอื่นสำหรับการนำเข้า แต่ก็มีราคาแพงกว่าและทำให้ราคาของไข่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยพุ่งสูงถึง 70 เซ็นต์ต่อไข่หนึ่งฟอง หรือเกือบ 3 เท่าของราคาปกติในเวลานั้น แต่พนักงานซุปเปอร์มาร์เก็ตกล่าวว่าปริมาณสินค้าในปัจจุบันยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

แม้สิงคโปร์จะมีฟาร์มในประเทศ เช่น Chew’s Agriculture และ Seng Choon แต่ฟาร์มในท้องถิ่นก็ไม่สามารถรับผิดชอบต่อปริมาณความต้องการไข่ในตลาดได้ทั้งหมดหากมีการตัดการส่งออกอย่างกะทันหัน โฆษกจากฟาร์ม Seng Choon กล่าวว่าฟาร์มผลิตไข่ได้ประมาณ 600,000 ฟองต่อวันหรือประมาณร้อยละ 12 ของความต้องการไข่รายวันของสิงคโปร์ เขาเสริมว่ากำลังการผลิตของฟาร์มมีปริมาณที่คงที่ และการเพิ่มจำนวนนั้นจะใช้เวลาหลายเดือน ไก่ในฟาร์มต้องโตเต็มที่ ต้องใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งปีในการเพิ่มจำนวนไข่ที่ผลิตในฟาร์ม ในกรณีที่มีการขาดแคลนไข่เขากล่าวว่าจะมีการส่งไข่ 600,000 ฟองไปยังลูกค้าปัจจุบันของฟาร์มซึ่งรวมถึงซุปเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่นเช่น NTUC FairPrice

สำหรับทางเลือกในการนำเข้านอกจากมาเลเซีย เช่น ไข่จากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีแนวโน้มที่จะมีราคาแพงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ไข่จากออสเตรเลีย 12 ฟองจากร้านค้าปลีกออนไลน์ RedMartมีราคาประมาณ 6.70 ดอลลาร์ ในขณะที่ไข่ 30 ฟองจาก Pasar แบรนด์มาเลเซียที่วางจำหน่ายในร้าน FairPrice มีราคา 5.50 ดอลลาร์

สำหรับข้อเสนอล่าสุดของสิงคโปร์เพื่อระงับการซื้อขายงานช้างและผลิตภัณฑ์ทุกชนิดในประเทศ หน่วยงาน Agri-Food and Veterinary Authority (AVA) ของสิงคโปร์เสนอห้ามการซื้อและขายผลิตภัณฑ์งาช้างทุกรูปแบบในสิงคโปร์ รวมถึงการห้ามแสดงงาช้างในที่สาธารณะยกเว้นเมื่อใช้เพื่อการศึกษา เช่น ในพิพิธภัณฑ์หรือสวนสัตว์ โดย AVA ได้เปิดข้อเสนอเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะจนถึงวันที่ 27 ธันวาคมนี้

หน่วยงาน Agri-Food and Veterinary (AVA) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการปกป้องสุขภาพสัตว์และพืชในสิงคโปร์ประกาศเมื่อวันที่ 28 พ.ย. ว่าการเสนอข้อห้ามดังกล่าวดำเนินการตามพระราชบัญญัติสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ (การนำเข้าและส่งออก) under the Endangered Species (Import and Export) Act จะห้ามธุรกิจและบุคคลในท้องถิ่น จากการขายหรือซื้อผลิตภัณฑ์งาช้างช้างทุกรูปแบบในสิงคโปร์ การแสดงงาช้างในที่สาธารณะจะถูกแบนเช่นกันยกเว้นเมื่อใช้เพื่อการศึกษา เช่น ในพิพิธภัณฑ์หรือสวนสัตว์ ข้อเสนอไม่ได้แสดงรายการข้อยกเว้นอื่นใด AVA ได้เปิดข้อเสนอเพื่อแสดงความคิดเห็นสาธารณะจนถึงวันที่ 27 ธันวาคมปีนี้

south_africa_kruger_0933-768x451

ช้างเอเชียถูกจัดไว้ในภาคผนวก I ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora – Cites) ในปี 2518 ในขณะที่ช้างแอฟริกาถูกเพิ่มเข้าไปในรายการเมื่อปี 2532 อย่างไรก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวไม่ได้รวมถึงการห้ามค้าขายงาช้างภายในประเทศ สิงคโปร์ในฐานะที่อยู่ในภาคีอนุสัญญาไซเตส
อนุญาตให้สามารถค้างาช้างภายในประเทศหากได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นงาช้างที่ได้นำเข้าหรือทำการซื้อขายก่อนที่ช้างสายพันธุ์นั้นๆ จะถูกระบุไว้ในภาคผนวก I ของไซเตส ซึ่งข้อห้ามใหม่ที่สิงคโปร์เสนอนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อยุติการค้าขายในประเทศอย่างสมบูรณ์

ข้อเสนอนี้ยังวางแผนที่จะให้ระยะเวลาผ่อนผันแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นเวลา 3 ปี เพื่อให้พวกเขาสามารถตัดสินใจได้ว่าจะจัดการกับงาช้างที่อยู่ในการครอบครองอย่างไร ซึ่งนักธุรกิจในท้องถิ่นและบุคคลที่เป็นเจ้าของงาช้างสามารถพิจารณาได้ว่าจะรักษา บริจาคหรือทำลายงาช้างในครอบครอง

นายปีเตอร์ ไนท์ CEO ของ WildAid องค์กรพัฒนาสิ่งแวดล้อมสัญชาติอเมริกันกล่าวว่าข้อเสนอของสิงคโปร์เป็นข่าวที่น่ายินดี หลังจากที่จีนสั่งห้ามขายงาช้าง นอแรดและซากเสือโคร่งในเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา การที่สิงคโปร์ได้เข้าร่วมกับประชาคมโลกในการระงับการค้างาช้างมีส่วนช่วยบรรเทาวิกฤติดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

แม้จะมีการห้ามค้างาช้างระหว่างประเทศ แต่การล่าช้างเพื่อค้างาช้างผิดกฎหมายยังคงไม่ลดลง ทุกปีช้างแอฟริการาว 40,000 ตัวถูกล่าและและเอางาช้างไปจำหน่าย ตอบสนองความต้องการงาช้างซึ่งส่วนใหญ่มาจากเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กองทุนสัตว์ป่าโลก (The World Wildlife Fund – WWF) กล่าวในแถลงการณ์ว่าข้อเสนอของสิงคโปร์ ไม่มีข้อยกเว้นในการสำหรับการค้างาช้างในประเทศเพื่อวางมาตรฐานคล้ายกันทั่วโลก แต่ถองทุนสัตว์ป่าโลกเสริมว่าข้อเสนอของสิงคโปร์ควรเพิ่มมาตรการที่ “แข็งแกร่งและเข้มงวด” ด้วยการเพิ่มมาตรการ เช่น สร้างความมั่นใจว่าผู้ค้าปลีกจะประกาศรายการสินค้าในครอบครองและระงับการออกใบอนุญาตนำเข้า ส่งออกงาช้างทันที มาตรการเหล่านี้จะสร้างความเชื่อมั่นว่าการระงับการค้าขายงาช้างจะไม่นำไปสู่การสะสมงาช้างล็อตใหม่หรือเพิ่งอุปทาน อุปสงค์งาช้างในประเทศอื่นๆ กลุ่มยังแนะนำให้เพิ่มบทลงโทษสำหรับการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายและผู้ค้างาช้าง เพิ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในสิงคโปร์ และลดระยะเวลาผ่อนผันเป็น 1 ปีแทนที่จะเป็น 3 ปี

และปิดท้ายด้วยสถานการณ์การจ้างงานในสิงคโปร์ที่มีแนวโน้มจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2562 โดยตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดคือนักวิเคราะห์และขับเคลื่อนข้อมูล จากรายงานการสำรวจประจำปีล่าสุดโดย บริษัท จัดหางาน Robert Walters อาชีพเหล่านี้รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล นักจัดการผลิตภัณฑ์ นักออกแบบ โดยเป็นอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับโลกดิจิทัล

colin-gc2-28

รายงานยังพบอีกว่าผู้ย้ายถิ่นฐานงานในสิงคโปร์สามารถคาดหวังว่าจะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นการจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 15 ในปี 2562 และคาดว่าผู้สมัครที่มีทักษะเฉพาะด้านในด้านไอที ดิจิทัลและบริการทางการเงินจะเพิ่มขึ้น

สำหรับบริษัทนายจ้างจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคล (HR) ที่มีประสบการณ์สูงในด้านเทคโนโลยี รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหาบุคลากรที่มีความสามารถสำหรับภาคเทคโนโลยี การจ้างงานสำหรับงานด้านบริการทางการเงินจะยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเน้นไปที่ทักษะด้านเทคนิค สำหรับมืออาชีพที่มีประสบการณ์ มีทักษะในการทำงานทางการเงินจะเป็นที่ต้องการของธนาคาร บริษัทวิเคราะห์การลงทุนและการวิจัย ความต้องการจะสูง นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการขายและการตลาดที่มีความเชี่บวชาญในเรื่องบิ๊กดาต้า ดิจิทัล และอีคอมเมิร์ซจะเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น

สำหรับงานที่เติบโตเร็วที่สุดในสิงคโปร์จากการสำรวจของบริษัทจัดหางานโรเบิร์ต วอลเตอร์สได้แก่ ภาคบัญชีและการเงินจะสนใจจ้างงานผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บภาษ๊และการบริหารจัดการ รวมถึงมีความทักษะ ความรู้ความเข้าใจด้านเทคนิค กฎเกณฑ์ต่างๆ ในภาควิศวกรรมคาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันและก๊าซฟื้นตัวขึ้น โรเบิร์ต วอลเตอร์ส คาดว่าความต้องการที่แข็งแกร่งสำหรับมืออาชีพที่เชี่ยวชาญในอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนกวิจัยและพัฒนา

 

Leave A Response

คลังข้อมูล

พบกับเราที่ Facebook

Tweets ล่าสุด

No tweets found.

แผนที่อาเซียน