home

มาเลเซีย (16-31 ก.ค. 60)

กันยายน 1, 2017
มาเลเซีย (16-31 ก.ค. 60)

pas-june-2016-general-assembly---2858956

รัฐกลันตันของมาเลเซีย ได้มีการปรับปรุงกฎหมายอิสลามของตนเพื่ออนุญาตให้มีการลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีในที่สาธารณะกระตุ้นให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

สภานิติบัญญัติแห่งกลันตันซึ่งปกครองโดยพรรคปาส (the Pan-Malaysian Islamic Party) PAS ได้อนุมัติการแก้ไขกฎหมายชารีอะห์เพื่อให้มีการลงโทษด้วยการเฆี่ยนในที่สาธารณะ โดยก่อนหน้านี้การลงโทษด้วยการเฆี่ยนเป็นสิ่งที่กระทำได้สำหรับสำหรับชาวมุสลิมภายใต้กฎหมายชารีอะห์ในประเทศมาเลเซียแต่ไม่สามารถกระทำได้ในที่สาธารณะ

นายโมห์ด อมาร์ นิค อับดุลลาห์ รัฐมนตรีช่วยว่าการรัฐกลันตัน กล่าวภายหลังจากที่มีการลงคะแนนเสียงในสภาต่อการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวว่าศาลชารีอะห์จะเป็นผู้พิจารณาว่าการเฆี่ยนนั้นจะกระทำในคุก หรือจะกระทำต่อหน้าสาธารณชน เขากล่าวว่าการลงโทษเป็นไปตามความต้องการของคำสอนทางศาสนา เพราะการลงโทษตามหลักชารีอะห์จะต้องดำเนินการในที่สาธารณะ เขาเสริมว่าพรรคปาส มุ่งผลักดันที่จะนำการลงโทษร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญาอิสลาม หรือที่เรียกว่า hudud ในรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการลงโทษแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน เช่น การตัดแขนตัดขาโจรที่โจรกรรม และปาหินใส่ผู้ที่คบชู้จนถึงแก่ความตาย

แม้ขณะนี้มาเลเซียมีประชากรชาวมุสลิมกว่า 32 ล้านคน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากระแสของศาสนาอิสลามแบบดั้งเดิมได้ลดลงไปเนื่องจากทัศนคติที่อนุรักษ์นิยมได้รับมาเป็นแนวคิดพื้นฐาน การเฆี่ยนตีในที่สาธารณะในเมืองกลันตันซึ่งกำลังพิจารณาโดยศาลอิสลามเองก็มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว มาเลเซียใช้ระบบศาลคู่ในการพิจารณาคดี โดยศาลอิสลามเป็นผู้จัดการเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและครอบครัว เช่น การหย่าร้าง การดูแล และการรับมรดกของชาวมุสลิม ตลอดจนกรณีต่างๆ เช่น การล่วงละเมิดประเวณี อย่างไรก็ตามการเฆี่ยนตีนั้นก็ไม่ได้นำมาใช้บ่อยนักภายใต้การบังคับใช้กฎหมายอิสลาม โดยคดีอาญานั้นจะถูกจัดการภายใต้กฎหมายของรัฐบาลกลางซึ่งการเฆี่ยนเองก็เป็นการลงโทษแบบหนึ่งแต่ทว่าจะกระทำในคุก

อย่างไรก็ตามนายตี๋ เหลียน เก๋อประธานสำนักงานเพื่อความกลมกลืนทางศาสนาขอพรรคสมาคมชาวมาเลย์เชื้อสายจีน ซึ่งเป็นร่วมรัฐบาลของคนเชื้อสายจีนกล่าวว่าการเฆี่ยนตีในที่สาธารณะนั้นเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลาง พรรคปาสกำลังสร้างแนวโน้มที่อันตรายในการบังคับใช้กฎหมายโดยไม่คำนึงถึงรัฐธรรมนูญ กฎหมายสูงสุดของประเทศ

ที่มา channelnewsasia.com

malaysia-skyline---627662

กระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมเตรียมเก็บภาษีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาพักในมาเลเซีย โดยจะเริ่มในเดือนสิงหาคม การออกภาษีดังกล่าวส่งผลให้นักท่องเที่ยวต้องจ่ายเงินให้กับผู้ประกอบการที่พักทุกประเภท โดยการเก็บภาษีดังกล่าวจะบังคัชใช้โดยไม่คำนึงถึงว่าพวกเขาเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อนหรือว่าทำธุรกิจ

นายนาซรี อาซิซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม กล่าวว่าชาวต่างชาติที่เข้าพักในมาเลเซียจะถูกเรียกเก็บเงินต่อคืนโดยเป็นภาษีการท่องเที่ยวขณะที่ชาวมาเลเซียจะได้รับการยกเว้น โดยภาษีท่องเที่ยวมีอัตราอยู่ที่ 2 – 20 ริงกิต ขึ้นอยู่กับประเภทของที่พัก ที่พัก เช่น โฮมสเตย์ และที่พักแบบ kampung สถานที่ที่หน่วยงานทางศาสนาเป็นผู้ดูแล ซึ่งไม่ได้เปิดให้บริการเพื่อการพาณิชย์ และที่พักที่มีห้องพักน้อยกว่า 10 ห้องจะได้รับการยกเว้นเรื่องภาษี ในส่วนของภาษีอัตราค่าที่พักอยู่จะที่ 20 ริงกิต (6.50 เหรียญสิงคโปร์) สำหรับที่พักระดับ 5 ดาว 10 ริงกิต สำหรับที่พักระดับ 4 ดาว 5 ริงกิต สำหรับที่พักระดับ 1 ถึง 3 ดาวและ 2.50 ริงกิตสำหรับที่พักที่ไม่ได้จัดประเภท

นายอาซิซ กล่าวว่าการกำหนดอัตราภาษีแบบแฟลตเรทโดยเริ่มต้นจาก 10 ริงกิต จากโรงแรมระดับ 5 ดาวไปจนถึงดาว 0 ดาว สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในขณะที่ชาวมาเลเซียจะได้รับการยกเว้นภาษีจากโรงแรมทุกประเภทนั้นเป็นเรื่องดี เขายังเสริมว่าทางกระทรวงประเมินว่าการเก็บภาษีดังกล่าวจะเพิ่มรายรับให้รัฐบาลราว 255,797 ล้านริงกิต (49,237,209 เหรียญสหรัฐ) ต่อปี โดยคำนวณจากอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 60 เปอร์เซ็นต์จากห้องพักทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันมีการลงทะเบียนกับรัฐบาล 391 ห้อง ซึ่งเขาคาดมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีธุรกิจมาลงทะเบียนกับกระทรวงมากขึ้น

อย่างไรก็ตามการเก็บภาษีการท่องเที่ยวได้สร้างข้อโต้แย้งโดยเฉพาะกับบรรดารัฐทางตะวันออกของมาเลเซีย เพราะพวกเขาเกรงว่าอาจกระทบกับจำนวนนักท่องเที่ยวในซาบาห์ และซาราวัก

ที่มา channelnewsasia.com , straittimes.com

Leave A Response

คลังข้อมูล

พบกับเราที่ Facebook

Tweets ล่าสุด

No tweets found.

แผนที่อาเซียน