home

การประชุม TRF–ASEAN Research Forum ครั้งที่ 9 เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการบริโภคและการจัดการร้านอาหารหาบเร่ในอาเซียน”

มิถุนายน 20, 2019
การประชุม TRF–ASEAN Research Forum ครั้งที่ 9 เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการบริโภคและการจัดการร้านอาหารหาบเร่ในอาเซียน”

วัน/เวลา          วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 13.00–15.30 น.

สถานที่           ห้อง ร.202 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

โครงการ “จับตาอาเซียน” ในการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดการประชุม TRF–ASEAN Research Forum ครั้งที่ 9 เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการบริโภคและการจัดการร้านอาหารหาบเร่ในอาเซียน” ขึ้นเป็นเวทีนำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ได้ร่วมรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการวิจัยดังกล่าวต่อไป

1  2

การจัดประชุมในครั้งนี้ ดร.ทรายแก้ว ทิพากร จากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยในการประสานงานของโครงการฯ เข้าร่วมนำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยหัวข้อ “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการบริโภคและการจัดการอาหารร้านอาหารหาบเร่ในอาเซียน” ใน 2 กรณีศึกษา ได้แก่ นครโฮจิมินห์
ของเวียดนาม และกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย ซึ่งมีแนวนโยบายในการจัดระเบียบร้านอาหารหาบเร่เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครของไทย โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาบทบาทของร้านอาหารหาบเร่ในการบริโภคและแบบแผนการใช้จ่ายของผู้คนในพื้นที่ และ (2) เพื่อเสนอแนะนโยบายในการบริหารจัดการร้านอาหารหาบเร่ในอาเซียนบนฐานของการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบข้อมูลจากประเทศกรณีศึกษา สำหรับกรอบการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาผ่านการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (comparative analysis) โดยศึกษาในเชิงพื้นที่ ทั้งในแง่ของขนาดพื้นที่ (term of size) การทำงานของเมือง  (function of cities) และความหลากหลายของร้านอาหารหาบเร่ (abundance of street food vendors)

ในส่วนข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาข้อเสนองานวิจัยต่อไปนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิ (1) รองศาสตราจารย์
ดร.นฤมล นิราทร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2) รองศาสตราจารย์ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง คณบดีคณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) โดยในภาพรวมทั้งสามท่านได้ให้ความเห็นที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาและต่อยอดข้อเสนองานวิจัย ดังนี้

(1) เสนอให้มีการปรับขอบเขตการศึกษาให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น โดยในกรณีร้านอาหารหาบเร่ของอินโดนีเซีย ซึ่งที่ผ่านมามีงานศึกษาภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการการค้าข้างทาง (Street Vending) ในประเทศไทย : สถานการณ์และทิศทางนโยบายที่ควรจะเป็น” ซึ่งงานวิจัยนี้ทำการศึกษาข้อมูลการค้าข้างทางในสาธารณรัฐอินโดนีเซียโดยการรวบรวมข้อมูลงานวิจัย 4 ชิ้น งาน 2 ชิ้นเป็นการศึกษาที่เมืองบันดุงและเมืองโซโล ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกัน งานศึกษาที่บันดุง ให้คำอธิบายเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ค้าข้างทาง ส่วนงานศึกษาที่เมืองโซโล (Solo) นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทบทวนวรรณกรรม เพื่อรองรับการขยายขอบเขตงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ในการต่อยอดในระดับอาเซียนได้มากขึ้น

(2) เสนอให้มีการศึกษาเมืองที่ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศด้านการบริหารจัดการร้านอาหารริมทาง โดยนำประเด็นที่มีการบริหารจัดการที่ดีมาเปรียบเทียบกับประเทศกรณีศึกษา เพื่อให้เกิดการกำหนดแนวนโยบายที่มีความชัดเจน โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นเมืองที่มีของกินริมทางที่ดีที่สุดในโลกโดย CNN คัดมาจาก 23 เมืองใหญ่ทั่วโลก โดยอันดับ 2 เป็นของกรุงโตเกียว เมืองหลวงประเทศญี่ปุ่นและอันดับ 3 เมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสำคัญในด้านมิติการจัดการว่าเน้นที่ประเด็นใดบ้าง เช่น การจัดการพื้นที่ คุณภาพในการให้บริการของผู้ขาย การจัดการความปลอดภัยทั้งเชิงกายภาพและความปลอดภัยของอาหารที่รับประทานด้วยเช่นเดียวกัน

 

Leave A Response

คลังข้อมูล

พบกับเราที่ Facebook

Tweets ล่าสุด

No tweets found.

แผนที่อาเซียน