home

งานเสวนาเรื่อง “อาลัย ลี กวน ยู: ชำแหละมายาคติสิงคโปร์โมเดล”

เมษายน 5, 2015
งานเสวนาเรื่อง “อาลัย ลี กวน ยู: ชำแหละมายาคติสิงคโปร์โมเดล”

งานเสวนาวิชาการเข้านอกออกในอุษาคเนย์ครั้งที่ 5
“อาลัย ลี กวน ยู: ชำแหละมายาคติสิงคโปร์โมเดล”
จัดโดย
ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ 3 เมษายน 2558
ณ ห้องบรรยายโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ชั้น 4 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดการเสวนาทางวิชาการเพื่อระลึกในวาระการถึงแก่อาสัญกรรมนายลี กวน ยู นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งสิงคโปร์ จนกลายเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจลำดับต้นๆ ของโลก

การเสวนาครั้งนี้ ประกอบด้วยวิทยากรสามท่าน ได้แก่ นายสงวน คุ้มรุ่งโรจน์ ผู้สื่อข่าวอิสระอาวุโส ผู้มีประสบการณ์ด้านสื่อมวลชนในสิงคโปร์มายาวนานนับสิบกว่าปี อาจารย์ ดร.กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  อาจารย์มรกตวงศ์  ภูมิพลับ อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีอาจารย์ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

เริ่มจาก นายสงวน คุ้มรุ่งโรจน์ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับสิงคโปร์ในสายตาของนักสื่อสารมวลชน  โดยกล่าวว่า สิงคโปร์มีการควบคุมสื่อมวลชนอย่างเข้มข้น  การนำเสนอข่าวสารบางประเภทไม่สามารถทำได้ เช่น รายงานข่าวเกี่ยวกับความมั่นคง  เป็นต้น และหนังสือพิมพ์ต้องส่งข่าวให้รัฐบาลตรวจทุกวัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสิงคโปร์ไม่เคยปิดหนังสือพิมพ์

นายสงวนยังกล่าวถึง นายลี กวน ยู ว่า เขาได้รับการยกย่องจากคนทั่วไป แต่ก็ยังได้รับการวิจารณ์จากสื่อต่างๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกา   นายลี กวน ยู นั้นเป็นเผด็จการแต่เขาไม่ใช่ทรราชย์  เพราะนายลี ไม่ได้มาจากรัฐประหาร และไม่เคยทำรัฐประหารเลยตลอดประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์  นอกจากนี้ นายสงวนยังกล่าวถึง ความขัดแย้งทางเชื้อชาติที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ทั้ง 3 ครั้ง ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญ  เขาบอกว่า “จีนกับแขกอยู่ร่วมกันยาก” ดังนั้น ข้อห้ามประการหนึ่งของสื่อมวลชนในสิงคโปร์ คือ การพูดถึงประเด็นละเอียดอ่อนอย่างเรื่องเชื้อชาติ

ทางด้าน อาจารย์ ดร.กรพนัช  ได้กล่าวว่า การศึกษาทางประวัติศาสตร์ มักจะมีการประเมินความดีความชอบของผู้นำเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อนายลี กวน ยูเสียชีวิตไปแล้ว ก็มีทั้งคนกล่าวว่า เขาทำประโยชน์ให้ประเทศชาติอย่างมากมาย อย่างไรก็ตาม ก็มีฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์เขาด้วยเช่นกัน

สำหรับการพัฒนาประเทศของสิงคโปร์นั้นไม่ใช่ไม่มีแนวทางหรือการวางแผนโดยปราศจากการศึกษาวิจัย  แต่นโยบายจำนวนมากล้วนมีฐานมาจากรายงานวิชาการและข้อมูลจากสถาบันการศึกษาวิจัย เป็นการอาศัยความรู้จากปัญญาชนและชนชั้นนำที่มีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาล

ตัวนายลี กวน ยูเองมีคุณสมบัติตามที่ผู้นำอำนาจนิยมปรารถนา กล่าวคือ มีอายุยืน ฉลาดในการพูดจา ทำให้ได้รับการยอมรับว่า เป็นโฆษกของเอเชีย  ซึ่งมักจะมีสื่อต่างชาติมาสัมภาษณ์เกี่ยวกับทัศนคติของเอเชียในประเด็นต่างๆ อยู่เสมอ

การเจริญเติบโตของสิงคโปร์จนเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ คนสิงคโปร์ต้องมีราคาที่ต้องจ่าย  เนื่องจากการปกครองโดยพรรค PAP ของลีกวนยู  เน้นอำนาจรวมศูนย์ส่วนกลาง ไม่มีการกระจายอำนาจและทรัพยากร จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีกลุ่มอำนาจการเมืองอื่นๆ มาต่อรอง

ขณะที่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมในสิงคโปร์ไม่ได้เกิดจากจิตสำนึกที่ต้องการเป็นอารยะ หากแต่มาจากความหวาดกลัว เช่น กลัวยากจน กลัวว่าจะไม่มีความสุข  จึงผลักดันให้คนยอมแลกเสรีภาพกับความกลัวนั้นๆ  และการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของสิงคโปร์คือ การบอกว่า เศรษฐกิจเติบโตได้โดยไม่ต้องอาศัยการเป็นประชาธิปไตย แต่จริงๆ แล้ว โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบนี้ไม่ได้เปิดโอกาสให้กับคนอื่นๆ มีพื้นที่ต่อรองทางการเมือง เช่น กลุ่มแรงงาน หรือคนชั้นล่างในสังคม

ขณะเดียวกัน การมองผลลัพธ์มากกว่าวิธีการในระยะยาวก็เป็นปัญหาตามมา จากสถานการณ์การเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรค PAP เริ่มเข้าสู่สถานการณ์ยากลำบาก เนื่องจากการเลือกตั้ง พรรค PAP มีคะแนนความนิยมเหนือคู่แข่งในสัดส่วนร้อยละ 60 ต่อ 40  ขณะที่การเลือกตั้ง พรรครัฐบาลมักจะข่มขู่ประชาชนโดยบอกให้เลือกพรรค PAP และเอาเศรษฐกิจเป็นตัวประกัน ซึ่งถ้าหากไม่เลือกพรรครัฐบาลก็จะมีผลต่อเศรษฐกิจ

ด้าน อาจารย์มรกตวงศ์ กล่าวว่า คนทั่วไปมักจะคิดว่า สิงคโปร์อยู่ได้ทุกวันนี้เพราะ ลี กวน ยู หากไม่มีลี กวน ยูแล้วสิงคโปร์จะล่มสลาย  ซึ่งไม่จริง เนื่องจากประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ ไม่ใช่เป็นประเทศที่ไม่มีอะไรมาก่อนเกิดเป็นประเทศเลย สิงคโปร์เคยเป็นคลังสินค้าและเมืองท่าการค้า  เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางทะเลมาตั้งแต่สมัยที่อังกฤษปกครอง โดยที่สิงคโปร์มีผู้นำมีวิสัยทัศน์และบริหารจัดการประเทศแบบสมัยอย่างลี กวน ยู จึงทำให้ประเทศเจริญเติบโตได้ดี

อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ก็มีปัญหาในแง่ของการปกครองที่เป็นอำนาจนิยมแบบลี กวน ยู ซึ่งเป็นรัฐที่ปกครองแบบพ่อปกครองลูก ละเมิดกฎก็ถูกลงโทษทุกครั้ง ลี กวน ยูครอบงำทางความคิด โดยใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือชี้นำชักจูงคนไม่ให้ออกนอกกรอบ   นอกจากนี้ การเติบโตของสิงคโปร์ก็มาจากหยาดเหงื่อของแรงงานต่างชาติ ซึ่งสิทธิแรงงานกลับผกผันกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ  แรงงานถูกกดดันสิทธิแรงงานให้ตกต่ำลงอย่างมากด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลเสวนาบางส่วนจาก  deklanghong.com และ prachachat.net

Leave A Response

หมวดหมู่

'; collapsItems['collapsCat-51:3'] = '
    '; collapsItems['collapsCat-52:3'] = '
      '; collapsItems['collapsCat-85:3'] = '
        '; collapsItems['collapsCat-86:3'] = '
          '; collapsItems['collapsCat-87:3'] = '
            '; collapsItems['collapsCat-88:3'] = '
              '; collapsItems['collapsCat-94:3'] = '
                '; collapsItems['collapsCat-3:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-25:3'] = '
                  '; collapsItems['collapsCat-33:3'] = '
                    '; collapsItems['collapsCat-34:3'] = '
                      '; collapsItems['collapsCat-35:3'] = '
                        '; collapsItems['collapsCat-36:3'] = '
                          '; collapsItems['collapsCat-37:3'] = '
                            '; collapsItems['collapsCat-38:3'] = '
                              '; collapsItems['collapsCat-39:3'] = '
                                '; collapsItems['collapsCat-40:3'] = '
                                  '; collapsItems['collapsCat-41:3'] = '
                                    '; collapsItems['collapsCat-42:3'] = '
                                      '; collapsItems['collapsCat-31:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-29:3'] = '
                                        '; collapsItems['collapsCat-30:3'] = '
                                          '; collapsItems['collapsCat-48:3'] = '
                                            '; collapsItems['collapsCat-76:3'] = '
                                              '; collapsItems['collapsCat-32:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-45:3'] = '
                                                '; collapsItems['collapsCat-46:3'] = '
                                                  '; collapsItems['collapsCat-47:3'] = '
                                                    '; collapsItems['collapsCat-43:3'] = ''; collapsItems['collapsCat-49:3'] = '
                                                      '; /* Collapse Functions, version 2.0 * *--------------------------------------------------------------------------*/ String.prototype.trim = function() { return this.replace(/^\s+|\s+$/g,""); } function createCookie(name,value,days) { if (days) { var date = new Date(); date.setTime(date.getTime()+(days*24*60*60*1000)); var expires = "; expires="+date.toGMTString(); } else { var expires = ""; } document.cookie = name+"="+value+expires+"; path=/"; } function readCookie(name) { var nameEQ = name + "="; var ca = document.cookie.split(';'); for(var i=0;i ', 'collapse', 0)// ]]>

                                                      คลังข้อมูล

                                                      พบกับเราที่ Facebook

                                                      Tweets ล่าสุด

                                                      No tweets found.

                                                      แผนที่อาเซียน